??แท่นเจาะ (Drilling rig) ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
??แท่นเจาะ คือ ชุดอุปกรณ์สำหรับเจาะลงไปในเปลือกโลก ทั้งที่เป็นพื้นดินหรือพื้นนํ้า เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ ประกอบด้วยอุปกรณ์เจาะ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรืออาจเป็นชุดอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แท่นเจาะอาจเป็นหน่วยเคลื่อนที่ที่อุปกรณ์เจาะติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก รถพ่วง เรือ หรือเป็นแท่นเจาะที่ติดตั้งถาวรบนบกหรือในทะเล
??วัตถุประสงค์การใช้แท่นเจาะ คือ ใช้สำหรับเจาะบ่อนํ้า บ่อนํ้ามัน บ่อแก๊สธรรมชาติ ใช้ในการเก็บตัวอย่างหิน ดิน แร่ นํ้าใต้ดิน และใช้ติดตั้งสิ่งก่อสร้างใต้พื้นผิวอุปกรณ์ อุโมงค์ แท่นเจาะมีหลายประเภท แต่ส่วนประกอบหลักจะคล้ายกัน ได้แก่
1. ชุดลูกรอกช่วยทดกำลัง (crown block)
2. โครงสร้างหอคอย หรือปั้นจั่น (derrick) ทำจากโลหะ มักมีขายึดติดกับฐาน 4 จุด
3. ชุดลูกรอกเคลื่อนที่ (travelling block)
4. หัวหมุน (swivel) เป็นส่วนรับโคลนเจาะจากท่อตั้งตรง เพื่อส่งให้กับก้านเจาะและหัวเจาะ
5. ท่อยืน (standpipe) สำหรับถ่ายโคลนเจาะ
6. ก้านเจาะนำ (Kelly) เชื่อมต่อมอเตอร์หมุนที่แท่นเข้ากับท่อเจาะ/ท่อนำเจาะเพื่อส่งกำลังหมุนให้กับท่อเจาะ
7. มอเตอร์หมุน (rotary drive) ส่งกำลังงานหมุนให้กับก้านเจาะนำ (Kelly)
8. เครื่องกว้าน (draw works) ใช้ควบคุมการเคลื่อนที่ของระบบรอกและสายสลิง เพื่อดึงท่อเจาะและหัวเจาะขึ้นลง
9. เครื่องยนต์ (engine) ให้กำลังงานแก่มอเตอร์หมุน
10. ชุดอุปกรณ์ป้องกันการพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงของนํ้า นํ้ามัน และแก๊สจากหลุม (blowout prevention)
11. ปั๊มโคลนเจาะ (mud pump)
12. ถังโคลนเจาะ (mud pit)
13. ท่อเจาะ/ท่อนำเจาะ (drill pipe) ใช้หมุนหัวเจาะและเป็นช่องใส่โคลนเจาะ เพื่อระบายความร้อนหัวเจาะ
14. ท่อกรุ (casing) เป็นท่อเหล็กใส่ในหลุมเจาะ เพื่อป้องกันการพังทลายของผนังหลุมเจาะ ป้องกันโคลนเจาะออกมาด้านนอก ป้องกันของไหลที่ไม่ต้องการเข้ามาในหลุมและช่วยควบคุมความดันของหลุม
15. ปูนซีเมนต์ (cement) เติมในช่องระหว่างหลุมเจาะและท่อกรุ เพื่อยึดท่อกรุให้อยู่กับที่และป้องกันการรั่วระหว่างชั้นหิน
16. หัวเจาะ (drill bit)
ที่มา iEnergyguru
สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี ??ขอร่วมรณรงค์?? ช่วยกันประหยัดพลังงาน ใช้รถเท่าที่จำเป็น #ประชาสัมพันธ์ #ร่วมใจประหยัดพลังงานร่วมผ่านวิฤตไปด้วยกัน #Saveenergy
เรื่องต้องรู้...เกี่ยวกับการขออนุญาตเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ ”การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2” เจ้าของตู้ต้องแจ้งกับท้องถิ่นก่อน เช่น อบต. เทศบาล แล้วแต่ว่าเราอยู่ในเขตไหน ?? ซึ่งหลักๆ ของการขออนุญาตการเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ มีดังนี้ 1. ตู้น้ำมันหยอดเหรียญถือเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง โดยจะต้องออกแบบให้มีมาตรฐานความปลอดภัยดังต่อไปนี้ 1.1 ลักษณะ ระยะความปลอดภัย และอุปกรณ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในหมวด 5 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง แห่งกฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 1.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในบริเวณอันตรายของตู้น้ำมันหยอดเหรียญจะต้องได้รับหนังสือรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน หรือได้รับการรับรองจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งตามข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานีบริการน้ำมัน 2. ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการ จะต้องแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (ตามแนบ ธพ.ป.1) ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพื้นที่นั้นๆ เช่น อบต. เทศบาล 3. ผู้ประกอบการ ต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน (ตามมาตรา 11) แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานพลังงานจังหวัด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 http://elaw.doeb.go.th/document_doeb/TH/275_0001.pdf กฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. 2556 http://elaw.doeb.go.th/document_doeb/TH/404_0001.pdf กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 http://elaw.doeb.go.th/document_doeb/TH/401_0001.pdf ตรวจสอบรายชื่อตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ที่ได้รับการรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน ทาง www.doeb.go.th https://www.doeb.go.th/dtastn/list-vending-oil.pdf การออกหนังสือรับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตราย ประเภท ตู้น้ำมันหยอดเหรียญที่ได้รับการรับรองหลังปี พ.ศ. 2561 รับรองโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานและพิจารณาการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายของสถานประกอบการ https://www.doeb.go.th/dtaspp/cer-dan-area/14.pdf #กรมธุรกิจพลังงาน #ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ #กองความปลอดภัยธุรกิจน้ำมัน #สถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน #มาตรา11 #กฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมัน #กิจการควบคุมประเภทที่2 #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี
เตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง แป๊ปๆ ก็ใกล้ถึงวันเสาร์อาทิตย์ วันหยุดพักผ่อนที่หลายคนรอคอย หลายท่านอาจมีแผนเดินทางไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ หรืออาจเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง การเตรียมข้อมูลการเดินทางและเส้นทางในการขับขี่ รวมทั้งตรวจสอบยานพาหนะจะช่วยให้ประหยัดพลังงานและทำให้เดินทางได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้อีกด้วย 1.วางแผนการเดินทาง วางแผนก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เลือกเส้นทางที่เหมาะสมช่วยให้ไม่หลงเส้นทาง และยังช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน รวมทั้งหาเส้นทางสำรอง และเบอร์ติดต่อของจุดหมายหรือสถานีตำรวจในเส้นทางที่ผ่าน เผื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเกิดการหลงทางเอาไว้ รวมทั้งการขับรถไม่เกิน 90 กม./ชม. จะช่วยให้เราประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.ตรวจสอบสภาพรถ การตรวจสอบสภาพรถมีความสำคัญต่อการเดินทางเป็นอย่างมาก ซึ่งการเดินทางอาจจะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ควรตรวจสอบระบบเบรก ระดับน้ำในแบตเตอรี่ ระดับน้ำมันเครื่อง ระดับน้ำในหม้อน้ำ ระบบปัดน้ำฝน สัญญาณไฟทุกดวง รวมถึงสภาพของยางและแรงดันลมยางให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 3.อุปกรณ์ประจำรถต้องพร้อมใช้งาน อุปกรณ์ประจำรถ ต้องมีและสามารถใช้งานได้ เช่น เครื่องมือถอดเปลี่ยนยาง เชือกสำหรับลากจูง แผ่นสะท้อนแสงแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไฟฉาย เป็นต้น แต่การบรรทุกสินค้าหรือของเกินพิกัดมากจะทำให้กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากและทำให้รถมีอายุการใช้งานที่สั้นลงอีกทั้งยังเป็นการไม่ปลอดภัยต่อการควบคุมการขับขี่ 4.พักผ่อนให้เพียงพอ ผู้ขับขี่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใด ๆ ทั้งก่อนออกเดินทาง และรวมถึงขณะเดินทาง หากรู้สึกเมื่อยล้า หรือง่วงนอน ให้จอดพักผ่อนสักครู่ ก่อนออกเดินทางใหม่ ผู้ขับขี่ควรใช้รถด้วยความระมัดระวัง มีน้ำใจแก่ผู้ร่วมทาง และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเดินทาง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ไปยังจุดหมายได้อย่างปลอดภัย #รวมพลังคนไทยลดใช้พลังงานหาร2 #การเตรียมพร้อมก่อนการเดินทาง #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี