เรื่องต้องรู้...เกี่ยวกับการขออนุญาตเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ ”การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2”
22 มีนาคม 2565
10
0
0

เรื่องต้องรู้...เกี่ยวกับการขออนุญาตเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ "การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2" เจ้าของตู้ต้องแจ้งกับท้องถิ่นก่อน เช่น อบต. เทศบาล แล้วแต่ว่าเราอยู่ในเขตไหน ?? ซึ่งหลักๆ ของการขออนุญาตการเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ มีดังนี้
1. ตู้น้ำมันหยอดเหรียญถือเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง โดยจะต้องออกแบบให้มีมาตรฐานความปลอดภัยดังต่อไปนี้
1.1 ลักษณะ ระยะความปลอดภัย และอุปกรณ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในหมวด 5 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง แห่งกฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552
1.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในบริเวณอันตรายของตู้น้ำมันหยอดเหรียญจะต้องได้รับหนังสือรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน หรือได้รับการรับรองจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งตามข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานีบริการน้ำมัน
2. ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการ จะต้องแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (ตามแนบ ธพ.ป.1) ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพื้นที่นั้นๆ เช่น อบต. เทศบาล
3. ผู้ประกอบการ ต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน (ตามมาตรา 11) แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานพลังงานจังหวัด
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552
กฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. 2556
กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556
ตรวจสอบรายชื่อตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ที่ได้รับการรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน ทาง www.doeb.go.th
การออกหนังสือรับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตราย ประเภท ตู้น้ำมันหยอดเหรียญที่ได้รับการรับรองหลังปี พ.ศ. 2561 รับรองโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานและพิจารณาการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายของสถานประกอบการ
R
ELATED NEWS
ข่าวที่น่าสนใจ
Hover Icon
8 มิถุนายน 2565
100
มีอะไรบ้างในก๊าซธรรมชาติที่สร้างประโยชน์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

??มีอะไรบ้างในก๊าซธรรมชาติที่สร้างประโยชน์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ??ก๊าซธรรมชาติจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์พลังงานที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ก๊าซธรรมชาติมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์อยู่มากมายเมื่อนำมาผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซแล้ว ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาใช้ประโยชน์มากมาย หนึ่งในนั้นคือการนำมาใช้ต่อยอดในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมดังกล่าวมีดังนี้ ??ก๊าซอีเทน (C2H6) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน (PE) ที่สามารถผลิตเป็นพลาสติกได้หลากหลาย อาทิ ฟิล์มบรรจุอหาร ขวดน้ำ ถ้วยพลาสติก เป็นต้น ??ก๊าซโพรเพน (C3H8): ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีน (PP) ไปใช้กับอุตสาหกรรมพลาสติก บรรจุภัณฑ์อาหาร ยางสังเคราะห์ได้ ??ก๊าซบิวเทน (C4H10) : ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกและสารเคมีบางชนิด อาทิ อุปกรณ์การแพทย์ ยางรถยนต์ กระเป๋าเดินทาง เป็นต้น รวมถึงใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย ??ก๊าซโพรเพน (C3H8) และก๊าซบิวเทน (C4H10) : ก๊าซโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นได้เช่นเดียวกัน และหากนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ และใช้ในการเชื่อมโลหะได้ รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะนำวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมเหล่านี้ ไปผลิตต่อเนื่องจนเป็น เม็ดพลาสติก ใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ สารเคลือบผิว และกาวต่างๆ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถือเป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่สำคัญในการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคพื้นฐานของมนุษย์ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ รวมไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น #กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ #DMFFanpage #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี

Hover Icon
27 มิถุนายน 2565
19
ประชาสัมพันธ์ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 ประจำวันจันทร์ ที่ 27 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น.

???? ประชาสัมพันธ์ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 ประจำวันจันทร์ ที่ 27 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ จังหวัดปัตตานี 1. สี่แยกรัตนโกสินทร์ (สี่แยกโรงพยาบาลปัตตานี) (12 มคก./ลบ.ม.) 2. ปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ (16 มคก./ลบ.ม.) 3. ปตท.เอสทีซี ปิโตรเลียม (12 มคก./ลบ.ม.) 4. สำนักงานเทศบาลเมืองปัตตานี (11 มคก./ลบ.ม.) 5. ดาดฟ้า กอ.รมน.ปัตตานี (7 มคก./ลบ.ม.) . ท่านสามารถติดตามข้อมูลรายงานผลคุณภาพอากาศ PM 2.5 แบบ Real Time ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง 76 จังหวัด ผ่าน?? Mobile Application “Sensor for All” โดยสามารถดาวน์โหลดผ่าน App Store และ Play Store และผ่านทาง Website => https://sensorforall.eng.chula.ac.th/ . ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Website : https://pattani.energy.go.th/th Page : https://www.facebook.com/pattani.energy E-mail ; Pattani@energy.go.th Tel. 073-348988 #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี #พลังงานปัตตานี #PattaniProvincialEnergyOffice #PattaniEnergy #กระทรวงพลังงาน #พลังงานเพื่อทุกคน #EnergyForAll

Hover Icon
9 สิงหาคม 2565
6
กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว” ก็ช่วยประหยัดพลังงานได้และช่วยสร้างสมดุลของการบริโภคและรักษาสิ่งแวดล้อม

#รวมพลังคนไทยลดใช้พลังงาน . กินข้าวหมดจาน ดื่มน้ำหมดแก้ว” ก็ช่วยประหยัดพลังงานได้และช่วยสร้างสมดุลของการบริโภคและรักษาสิ่งแวดล้อม . (1) ช่วยประหยัดพลังงาน ๐ ลดพลังงานที่ใช้ในการปลูกข้าว ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ ๐ ลดพลังงานในการประกอบอาหาร ๐ ลดพลังงานในการผลิตไฟฟ้า ๐ ลดพลังงานในการบำบัดของเสีย/ น้ำเสีย . (2) ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ๐ ลดการใช้ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช อาหารสัตว์ ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ๐ ลดปริมาณการใช้น้ำดิบ ๐ ลดการใช้ที่ดิน . (3) ช่วยประหยัดน้ำ ๐ ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ๐ ลดปริมาณน้ำในการประกอบอาหาร และชำระล้าง ๐ ลดประมาณการใช้น้ำดิบที่กักเก็บไว้ . (4) ลดมลพิษและปริมาณของเสีย ๐ ลดปริมาณของเสียและมลพิษจากการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ๐ ลดปริมาณขยะเศษอาหาร ๐ ลดปริมาณ CO2 และ มีเทนที่เกิดจากกระบวนการหมักเศษอาหาร ๐ ลดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ . ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) . #พพ. #พลังงานDEDE #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี