#รวมพลังคนไทยลดใช้พลังงาน
.
“5 ทริคดีๆ ช่วยประหยัดแก๊ส”
.
1.เลือกซื้อเตาแก๊สที่ติดฉลากประหยัดพลังงานประสิทธิภาพสูง ประหยัดไปกว่าครึ่ง
วิธีดูฉลาก
-ดูฉลากที่ระบุปริมาณการใช้แก๊สปิโตรเลียมเหลว (กก./ปี) และค่าแก๊สปิโตรเลียวเหลว (บาท/ปี)ยิ่งน้อย ยิ่งดี
-ดูที่ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนตั้งแต่ร้อยละ 53.01 ขึ้นไป ยิ่งมาก ยิ่งดี
.
2.เลือกใช้ประเภทเตาให้เหมาะสม
-หากพักอาศัยคอนโด มีผู้อยู่อาศัย 1-2 คน เลือกใช้เตาไฟฟ้า จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เพราะการประกอบอาหาร เช่น ไข่เจียว ผัดผัก ชาบู สำหรับ 1-2 คน เตาไฟฟ้าให้ความร้อนได้เร็วใช้เวลาไม่นาน
-หากพักอาศัยบ้านเดี่ยว มีผู้อยู่อาศัย 3-5 คน เลือกใช้เตาก๊าซ LPG หรือเตารังสีอินฟราเรด จะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม (แม้เตาไฟฟ้าประสิทธิภาพดีกว่า แต่เตาไฟฟ้ามีขนาดกำลังไฟฟ้า 2,000 วัตต์ ถ้าใช้ประกอบอาหารที่มีปริมาณมากขึ้น อาจจำให้สิ้นเปลืองมากกว่าการใช้เตาก๊าซ PLG)
-หากพักอาศัยบ้านเดี่ยว มีผู้อยู่อาศัย มากกว่า 5 คน และอยู่พื้นที่ต่างจังหวัดที่อาจจะประกอบอาหารปริมาณมากขึ้น นอกจากใช้เตาก๊าซ LPG หรือ เตารังสีอินฟราเรดแล้ว การเลือกใช้เตาซุปเปอร์อั่งโล่ เพื่อช่วยในการทำอาหารประเภทที่ใช้เวลานาน จะช่วยประหยัดการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวมากขึ้น เช่น บ้านที่นิยมบริโภคข้าวเหนียว การนึ่งข้าวเหนียวใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หากใช้เตาแก๊สนึ่งข้าวเหนียวจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน
.
3.ทำความสะอาดหัวเตาอยู่เสมอ
โดยใช้เบกกิ้งโซดา (โซเดียมไบคาร์บอเนต) โรยบนผ้าเปียกหมาด นำไปเช็ดบริเวณหัวเตาขณะที่ไม่ได้ใช้และมีอุณหภูมิปกติ จะทำให้คราบน้ำมันและเขม่าที่ติดอยู่หลุดออกได้ ซึ่งช่วยให้ระดับไฟจากเตาเสถียรมากขึ้น
.
4.การเลือกใช้ภาชนะให้เหมาะกับหัวเตา
กระทะก้นแบนใหญ่ใช้กับหัวเตาใหญ่ หม้อต้มขนาดเล็กใช้กับหัวเตาเล็ก ข้อสังเกตุหากคุณเห็นเปลวไฟเลียด้านข้างของกระทะแสดงว่าเตาถูกเปิดไว้สูงเกินไป หมุนวาล์วลดระดับปล่อยก๊าซให้เปลวไฟถูกกักไว้ที่พื้นผิวด้านล่างของกระทะ มิฉะนั้นความร้อนจะหนีออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยรอบ
.
5.นำอาหารแช่แข็งออกมาไว้ที่อุณหภูมิห้อง
ให้อาหารแช่เข็งได้คลายความเย็นโดยธรรมชาติก่อนนำมาปรุงอาหาร จะช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิงในการทำให้สุกได้ส่วนหนึ่ง
.
#พพ #EnergyDEDE #พลังงานดีชีวีมีสุข #ทราบแล้วเปลี่ยน
#สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี
สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี ??ขอร่วมรณรงค์?? ช่วยกันประหยัดพลังงาน ใช้รถเท่าที่จำเป็น #ประชาสัมพันธ์ #ร่วมใจประหยัดพลังงานร่วมผ่านวิฤตไปด้วยกัน #Saveenergy
เรื่องต้องรู้...เกี่ยวกับการขออนุญาตเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ ”การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2” เจ้าของตู้ต้องแจ้งกับท้องถิ่นก่อน เช่น อบต. เทศบาล แล้วแต่ว่าเราอยู่ในเขตไหน ?? ซึ่งหลักๆ ของการขออนุญาตการเปิดปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ มีดังนี้ 1. ตู้น้ำมันหยอดเหรียญถือเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง โดยจะต้องออกแบบให้มีมาตรฐานความปลอดภัยดังต่อไปนี้ 1.1 ลักษณะ ระยะความปลอดภัย และอุปกรณ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในหมวด 5 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง แห่งกฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 1.2 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในบริเวณอันตรายของตู้น้ำมันหยอดเหรียญจะต้องได้รับหนังสือรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน หรือได้รับการรับรองจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งตามข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานีบริการน้ำมัน 2. ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการ จะต้องแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 (ตามแนบ ธพ.ป.1) ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพื้นที่นั้นๆ เช่น อบต. เทศบาล 3. ผู้ประกอบการ ต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน (ตามมาตรา 11) แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานพลังงานจังหวัด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2552 http://elaw.doeb.go.th/document_doeb/TH/275_0001.pdf กฎกระทรวงระบบไฟฟ้าและระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าของสถานที่ประกอบกิจการน้ำมัน พ.ศ. 2556 http://elaw.doeb.go.th/document_doeb/TH/404_0001.pdf กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2556 http://elaw.doeb.go.th/document_doeb/TH/401_0001.pdf ตรวจสอบรายชื่อตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ที่ได้รับการรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน ทาง www.doeb.go.th https://www.doeb.go.th/dtastn/list-vending-oil.pdf การออกหนังสือรับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตราย ประเภท ตู้น้ำมันหยอดเหรียญที่ได้รับการรับรองหลังปี พ.ศ. 2561 รับรองโดยคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานและพิจารณาการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายของสถานประกอบการ https://www.doeb.go.th/dtaspp/cer-dan-area/14.pdf #กรมธุรกิจพลังงาน #ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ #กองความปลอดภัยธุรกิจน้ำมัน #สถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน #มาตรา11 #กฎกระทรวงสถานีบริการน้ำมัน #กิจการควบคุมประเภทที่2 #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี
เตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง แป๊ปๆ ก็ใกล้ถึงวันเสาร์อาทิตย์ วันหยุดพักผ่อนที่หลายคนรอคอย หลายท่านอาจมีแผนเดินทางไปเที่ยวจังหวัดใกล้ๆ หรืออาจเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง การเตรียมข้อมูลการเดินทางและเส้นทางในการขับขี่ รวมทั้งตรวจสอบยานพาหนะจะช่วยให้ประหยัดพลังงานและทำให้เดินทางได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้อีกด้วย 1.วางแผนการเดินทาง วางแผนก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เลือกเส้นทางที่เหมาะสมช่วยให้ไม่หลงเส้นทาง และยังช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน รวมทั้งหาเส้นทางสำรอง และเบอร์ติดต่อของจุดหมายหรือสถานีตำรวจในเส้นทางที่ผ่าน เผื่อมีเหตุฉุกเฉินหรือเกิดการหลงทางเอาไว้ รวมทั้งการขับรถไม่เกิน 90 กม./ชม. จะช่วยให้เราประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้น 2.ตรวจสอบสภาพรถ การตรวจสอบสภาพรถมีความสำคัญต่อการเดินทางเป็นอย่างมาก ซึ่งการเดินทางอาจจะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ควรตรวจสอบระบบเบรก ระดับน้ำในแบตเตอรี่ ระดับน้ำมันเครื่อง ระดับน้ำในหม้อน้ำ ระบบปัดน้ำฝน สัญญาณไฟทุกดวง รวมถึงสภาพของยางและแรงดันลมยางให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 3.อุปกรณ์ประจำรถต้องพร้อมใช้งาน อุปกรณ์ประจำรถ ต้องมีและสามารถใช้งานได้ เช่น เครื่องมือถอดเปลี่ยนยาง เชือกสำหรับลากจูง แผ่นสะท้อนแสงแจ้งเหตุฉุกเฉิน ไฟฉาย เป็นต้น แต่การบรรทุกสินค้าหรือของเกินพิกัดมากจะทำให้กินน้ำมันเชื้อเพลิงมากและทำให้รถมีอายุการใช้งานที่สั้นลงอีกทั้งยังเป็นการไม่ปลอดภัยต่อการควบคุมการขับขี่ 4.พักผ่อนให้เพียงพอ ผู้ขับขี่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใด ๆ ทั้งก่อนออกเดินทาง และรวมถึงขณะเดินทาง หากรู้สึกเมื่อยล้า หรือง่วงนอน ให้จอดพักผ่อนสักครู่ ก่อนออกเดินทางใหม่ ผู้ขับขี่ควรใช้รถด้วยความระมัดระวัง มีน้ำใจแก่ผู้ร่วมทาง และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเดินทาง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ไปยังจุดหมายได้อย่างปลอดภัย #รวมพลังคนไทยลดใช้พลังงานหาร2 #การเตรียมพร้อมก่อนการเดินทาง #มีพลังงานมีความสุข #กระทรวงพลังงาน #MinistryofEnergy #MoEN #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี