จัดกิจกรรมสัมมนาชี้เเจงโครงการส่งเสริมการลดใช้พลังงานในภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
19 ธันวาคม 2567
14
0
0
Post Content Image

 S__43384964_0_0  LINE_ALBUM_181267_241218_112 S__43384954_0_0  

ั   วันพุธ ที่ 18 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายกำพู เพชรธำมรงค์ พลังงานจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี

 จัดกิจกรรมสัมมนาชี้เเจงโครงการส่งเสริมการลดใช้พลังงานในภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมพญาตานี ชั้น 4 อาคาร 2 ศาลากลางจังหวัดปัตตานี

 อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี

R
ELATED NEWS
ข่าวที่น่าสนใจ
Hover Icon
24 มีนาคม 2565
5
มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ

มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบมาตรการประหยัดพลังงานตามที่เสนอในแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ 2. อนุมัติเป็นหลักการให้หน่วยงานราชการดำเนินการตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงานลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 พร้อมทั้งรายงานผลการประหยัดพลังงานผ่าน www.e-report.energy.go.th เพื่อกระทรวงพลังงานจะได้รายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป โดย กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานราชการนำไปปฏิบัติ และได้ผลประหยัดพลังงานตามเป้าหมายที่กำหนด โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. กำหนดเป้าหมาย : ลดใช้พลังงานลงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 20 (รวมไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง) 2. มาตรการที่ปฏิบัติได้ทันที มีแนวทางดังนี้ 2.1 ให้หน่วยงานราชการลดการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงลงร้อยละ 20ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของการประเมินผลตัวชี้วัดการลดใช้พลังงานของหน่วยงานราชการ ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2563 โดยปรับเพิ่มเป้าหมายลดใช้พลังงานจากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2.2 แนวทางดำเนินการ (1) การรายงานข้อมูลการใช้พลังงาน : ให้หน่วยงานราชการรายงานข้อมูลการใช้พลังงานผ่าน www.e-report.energy.go.th ซึ่งทุกหน่วยงานได้มีบัญชีสำหรับเข้าระบบเพื่อรายงานข้อมูลการใช้พลังงานแล้ว (2) มาตรการลดใช้พลังงานด้านไฟฟ้า : ให้หน่วยงานราชการจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เป็นอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน หรือมีฉลากประสิทธิภาพเบอร์ 5, กำหนดเวลาเปิด - ปิดเครื่องปรับอากาศ เช่น 8.30 - 16.30 น. และปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 25 - 26 องศาเซลเซียส และล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจำทุก 6 เดือน, กำหนดการใช้ลิฟต์ให้หยุดเฉพาะชั้น เช่น การหยุดเฉพาะชั้นคู่ หรืออาจจะสลับให้มีการหยุดเฉพาะชั้นคี่และปิดลิฟต์บางตัวในช่วงเวลาที่มีการใช้งานน้อยและรณรงค์ขึ้น – ลงชั้นเดียวไม่ใช้ลิฟต์ และพิจารณาให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์ (3) มาตรการลดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง : ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแทนการเดินทาง เช่น การประชุมออนไลน์ การจัดส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์, ให้พนักงานขับรถยนต์ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 อย่างเคร่งครัด และขับรถในอัตราความเร็วที่สม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงเลือกใช้รถยนต์ให้เหมาะสมกับสภาพการเดินทาง และจำนวนผู้เดินทาง 3. มาตรการระยะยาว มีแนวทางดังนี้ 3.1 ให้ “อาคารของรัฐที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม” ก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประมาณ 800 แห่ง เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไม่ให้เกิน “ค่ามาตรฐานการจัดการใช้พลังงาน” ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการอาคารของเอกชนที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม 3.2 ให้นำมาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน มาใช้กับหน่วยงานราชการ โดยให้กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดวิธีการและแนวทางที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง ซึ่งจากผลการประหยัดพลังงานที่ผ่านมา หน่วยงานราชการ ได้ดำเนินการรายงานข้อมูลการใช้พลังงานในระบบ www.e-report.energy.go.th ที่กำหนดให้หน่วยงานราชการลดการใช้พลังงานร้อยละ 10 ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2564 โดยใช้ปี พ.ศ. 2562 เป็นปีฐาน เพื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2563 และ 2564 ในด้านการใช้ไฟฟ้า ที่ประหยัดได้ 100.4 ล้านหน่วย และ 149.0 ล้านหน่วย ตามลำดับ และด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ 5.7 ล้านลิตร และ 17.6 ล้านลิตร ตามลำดับ รวมผลประหยัด 2 ปี สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 249.4 ล้านหน่วย และสามารถลดการใช้น้ำมันลง 23.3 ล้านลิตร ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ถ้าหากหน่วยงานราชการลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 ในครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คาดว่าจะลดการใช้ไฟฟ้าได้ 120 ล้านหน่วย คิดเป็นเงินมูลค่า 600 ล้านบาท (ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 5 บาท) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 70,800 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (ไฟฟ้า 1 หน่วย = 0.590 กิโลกรัมเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์) และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ 12 ล้านลิตร คิดเป็นเงินมูลค่า 420 ล้านบาท (ค่าน้ำมันคิดเฉลี่ยหน่วยละ 35 บาท) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 26,275 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (เบนซิน 1 ลิตร = 2.1896 กิโลกรัม เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์) รวมลดปริมาณการใช้พลังงานลงคิดเป็นมูลค่า 1,020 ล้านบาท ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97,075 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 2. การกำกับดูแลอาคารของรัฐที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม คาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงาน คิดเป็นไฟฟ้า 174.45 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่า 872.25 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 102,925 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 3. การดำเนินงานตามมาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐคาดว่าจะสามารถลดใช้พลังงานคิดเป็นไฟฟ้า 1,058.33 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่า 5,291.65 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 624,414 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ #ลดใช้พลังงานหน่วยงานราชการ #ลดใช้พลังงานร้อยละ20 #สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน #สนพ #เราสร้างสรรค์เพื่อทุกคน #CreateTheFutureEnergy #กระทรวงพลังงาน

Hover Icon
12 เมษายน 2565
0
เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ กรมธุรกิจพลังงาน? ขอให้ทุกท่านเดินทางไป-กลับภูมิลำเนา

เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ กรมธุรกิจพลังงาน? ขอให้ทุกท่านเดินทางไป-กลับภูมิลำเนา โดยสวัสดิภาพ ขับ ขี่ ปลอดภัย ไม่ดื่มสุราระหว่างเดินทาง หากง่วง เหนื่อย ล้า ให้แวะพักที่ปั๊มก่อนเดินทางต่อ และปฏิบัติตามมาตรการ DMHTA อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ กรมธุรกิจพลังงาน? ได้ขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิง? เตรียมความพร้อมช่วงเทศกาลสงกรานต์จัดเตรียมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอ ป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง อำนวยความสะดวกอำนวยให้กับประชาชนที่มาใช้บริการในสถานีบริการ และลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ #กรมธุรกิจพลังงาน #สงกรานต์ #DMHTA #น้ำมันเชื้อเพลิง #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี

Hover Icon
5 พฤษภาคม 2565
9
“พลังงาน” ลุยโครงการ “วินเซฟ” ช่วยค่าน้ำมันวินมอเตอร์ไซค์ 3 เดือน ไม่ให้ขยับค่าโดยสารกระทบประชาชน

“พลังงาน” ลุยโครงการ “วินเซฟ” ช่วยค่าน้ำมันวินมอเตอร์ไซค์ 3 เดือน ไม่ให้ขยับค่าโดยสารกระทบประชาชน วันนี้ (5 พฤษภาคม 2565) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากที่สถานการณ์ด้านราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลง ส่งผลกระทบต่อการจัดหาพลังงานของโลก รวมทั้งปัจจุบันความต้องการเชื้อเพลิงพลังงานทุกประเภทมีมากขึ้นหลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย แม้ว่าที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ออกมาตรการต่างๆ แต่เนื่องจากงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้การช่วยเหลืออาจจะไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ใช้ แต่กระทรวงพลังงานมิได้นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้มีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซินในกลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์สาธารณะ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเปราะบางผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 กระทรวงพลังงานได้นำเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะต่อ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และได้มีมติเห็นชอบ “โครงการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ” โดยมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานดำเนินโครงการ และเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบอาชีพในภาคขนส่ง โดยให้ส่วนลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ (รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง) ที่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะที่จดทะเบียนเป็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างกับกรมการขนส่งทางบก จำนวนสิทธิรวม 106,655 ราย จะได้รับสิทธิช่วยเหลือค่าน้ำมัน ไม่เกิน 250 บาท/คน/เดือน รวม 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาระประชาชนจากการปรับขึ้นค่าโดยสาร ด้านนางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า กรมฯ ได้ดำเนินโครงการบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน สำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือเรียกว่าโครงการ “วินเซฟ” โดยดำเนินการร่วมกับผู้ค้าน้ำมันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการขนส่งทางบก กรมการปกครอง กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ กำหนดแนวทางดำเนินโครงการ และธนาคารกรุงไทย เป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน ถุงเงิน และ เป๋าตัง เพื่อรองรับการใช้สิทธิ “วินเซฟ” โดยให้ส่วนลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ (รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างป้ายเหลือง) ที่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะที่จดทะเบียนเป็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างกับกรมการขนส่งทางบก (ภายในวันที่ 22 มีนาคม 2565) ในรูปแบบรัฐร่วมจ่ายร้อยละ 50 ไม่เกิน 50 บาท/คน/วัน และไม่เกิน 250 บาท/คน/เดือน “กรมธุรกิจพลังงาน เร่งดำเนินมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการ “วินเซฟ” นี้ ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่เข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิ สามารถกดยืนยันสิทธิ ที่แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แบนเนอร์ “สิทธิวินเซฟ” และสถานีบริการน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการสามารถ กดยืนยันสิทธิ ที่แอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ได้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป และเริ่มใช้สิทธิ ได้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 ณ สถานีบริการน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนการใช้งานจะมีความคล้ายกับโครงการคนละครึ่ง ที่จะต้องเติมเงินเข้าไปในบัญชีก่อน ถึงจะสามารถใช้งานได้ โดยขณะนี้มีสถานีบริการน้ำมันสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 1,000 แห่ง และสถานีบริการสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้อย่างต่อเนื่อง โดยกรอกแบบแจ้งความประสงค์ เข้าร่วมโครงการ (สำหรับสถานีบริการ) ได้ที่ www.doeb.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ Call Center โครงการฯ โทร 0 2794 4308 – 9 (ในวันและเวลาราชการ) จึงขอเชิญชวนกลุ่มผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์สาธารณะทั่วประเทศที่เข้าเกณฑ์รับสิทธิเข้าร่วมโครงการการดังกล่าว เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านน้ำมัน รวมทั้งขอความร่วมมือไม่ขึ้นค่าโดยสารเพื่อลดภาระพี่น้องประชาชนที่ใช้บริการ” นางสาวนันธิกา กล่าว #วินเซฟ #โครงการรัฐ #ยืนยันสิทธิ #มอเตอร์ไซค์รับจ้าง #เบนซิน #มติครม #มติกบง #กรมธุรกิจพลังงาน #กระทรวงพลังงาน #สำนักงานพลังงานจังหวัดปัตตานี